ประวัติความเป็นมา
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส

สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อเป็นหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในการพัฒนาเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับวงการอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งประเทศฝรั่งเศสจะได้รับผลตอบแทนในการลงทุนระยะยาว ในด้านการเผยแพร่เทคโนโลยีสมัยใหม่สู่สถานศึกษาและสถานประกอบการในประเทศที่กำลังพัฒนา และเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ เกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือและความช่วยเหลือที่ผู้แทนของรัฐบาลทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงไว้จำนวน 3 ฉบับคือ

ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศฝรั่งเศส ตามโครงการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบให้เปล่าต่อประเทศไทย โดยผ่านทางกรมวิเทศสหการและ Credit National ของฝรั่งเศส

ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ที่กรุงปารีส และเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2535 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างผู้แทนของรัฐบาลทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นการลงนามในข้อตกลงการดำเนินงาน (Implementation Agreement)

ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ที่กรุงปารีส ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและสภาอุตสาหกรรมฝรั่งเศส เพื่อจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ในระยะ 3 ปีแรกรัฐบาลฝรั่งเศสโดยความร่วมมือของL’AIR LIQUIDE Group, Federation of French Mechanical Industries และ France DIDAC จะให้การสนับสนุนโครงการนี้รวมเป็นมูลค่าประมาณ 140 ล้านบาทประกอบด้วยเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ 3 กลุ่มคือ Welding, Automation of Production และ Simulation ในด้าน Energy Aeronautics Electronics และ Computers ให้กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือรวมทั้งให้ทุนดูงานแก่คณาจารย์จำนวน 68 ทุนโดยแบ่งเป็นทุนการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ 6 ทุนทุนฝึกอบรมระยะสั้น 50 ทุนแยกเป็นสาขาเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติ 12 ทุนสาขาอุตสาหกรรมงานเชื่อมและทดสอบวัสดุ18 ทุนสาขาไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ 20 ทุนทุนดูงานสำหรับผู้บริหาร 12 ทุนในข้อตกลงนี้รัฐบาลไทยจะต้องจัดสรรบุคลากรสนับสนุนโครงการจัดสรรงบประมาณดำเนินการและจัดสรรเงินงบประมาณ 34 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างอาคารปฏิบัติการสูง 8 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอย 3,200 ตารางเมตรโดยเรียกว่าอาคารศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส

ปี พ.ศ. 2553 สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2533 และเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2535 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพร้อมทั้งทอดพระเนตรนิทรรศการเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัยของบริษัทต่างๆ ของฝรั่งเศส ที่รัฐบาลฝรั่งเศสมอบให้ตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการ และเมื่อวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดนิทรรศการทางวิชาการเทคโนโลยีไทยและฝรั่งเศส เนื่องในโอกาส 20 ปีแห่งการก่อตั้งสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส และทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานทางวิชาการ ณ สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วันที่ 26 ธันวาคมพ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 124 ตอนที่ 98ก และสภามหาวิทยาลัยได้มีประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือว่าด้วยการจัดตั้งส่วนงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2551 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ข้อ 4 ให้มีการจัดตั้งคณะวิทยาลัยสถาบันสำนักดังนั้น “ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส” จึงได้รับการจัดตั้งป็นส่วนงานระดับคณะในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

โดยมีชื่อว่า“สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส” และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 68ง หน้า 21 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 ศึกษา (5 ปี)

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส

สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อให้บริการทางวิชาการได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัยฝึกอบรมตรวจสอ บทดสอบสอบเทียบ และให้คำปรึกษา โดยมีพันธกิจหลัก ดังนี้

  • เป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติงานและวิจัยด้านเทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ฝึกอบรมช่างเทคนิควิศวกรครูช่างและนักศึกษาสถาบันอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศและประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
  • ส่งเสริมในด้านเครื่องมือและวิศวกรรมที่นำสมัยรวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการฝึกอบรมสาธิตหรือวิจัย
  • เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาด้านเทคนิคให้กับภาคอุตสาหกรรม

หน่วยงานภาคเอกชนของประเทศฝรั่งเศสที่ให้การสนับสนุนโครงการ

รายชื่อบริษัทและหน่วยงานใน 3 กลุ่มดังกล่าว คือ

L’AIR LIQUIDE Group, Federation of French Mechanical Industriesและ France DIDAC  มีดังนี้

  • L’AIR LIQUIDE GROUP
  • INSTITUT DE SOUDURE
  • CETIM
  • MECAFORM
  • AFMA ROBOTS
  • LOG’IN
  • MULTISOFT ROBOTIQUE
  • NUM
  • REALMECA
  • SERETE
  • CORYS
  • EDF-GDF
  • F.I.A.S
  • MERLIN GERIN
  • MENTOR SCIENCES
  • ARDEMI
  • THOMSON CONSUMER ELECTRONICS
  • THOMSON CSF COOPERATION
  • TELEMECANIQUE ( Schneider Electric Ltd.)