News & Blog

สถาบันฯไทย-ฝรั่งเศส จัดอบรมหลักสูตร “ผู้เชี่ยวชาญการเชื่อมสากล” รุ่นที่ 5/2565 (International Welding Specialist Class 5/2022)

News & Blog

หลักสูตร WD-051-00 เรื่อง “ผู้เชี่ยวชาญการเชื่อมสากล” รุ่นที่ 5/2565 (International Welding Specialist  Class 5/2022) ดำเนินการภายใต้คณะอนุกรรมการบริหารโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engineer ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับอนุมัติจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  ในการเข้าร่วมโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ปีงบประมาณ 2565 ดำเนินการฝึกอบรมโดย ฝ่ายเทคโนโลยีงานเชื่อมสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส และที่ผ่านมาโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับความสนใจจาก ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการบริการของประเทศให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเกิดการสร้างงานที่มีคุณภาพ  ตลอดจนมีการสนับสนุนเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน การลงทุนใน EEC จะช่วยดึงดูดนักลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม หรือ  First S-Curve

โดยหลักสูตร เรื่อง “ผู้เชี่ยวชาญการเชื่อมสากล” รุ่นที่ 5/2565 (International Welding Specialist  Class 5/2022) อบรมระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม 2565–17 กุมภาพันธ์ 2566 รวมระยะเวลา 13 สัปดาห์อบรมวันจันทร์วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น.สถานที่ฝึกอบรม ณ ห้องอบรม 704 ชั้น 7 และการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ณ ห้องปฏิบัติการงานเชื่อม ชั้น 1 อาคารสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย–ฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตามหลักสูตร “ผู้เชี่ยวชาญการเชื่อมสากล” รุ่นที่ 5/2565 (International Welding Specialist  Class 5/2022) เป็นการยกระดับฝีมือ มุ่งปั้นบัณฑิตพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จริงเกิดความเชี่ยวชาญ ตอบโจทย์ความต้องการในภาคอุตสาหกรรม เมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ซึ่งตรงกับทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยจึงได้นำนโยบายนี้มาต่อยอดในการขับเคลื่อนการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัย โดยสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส  มจพ. ร่วมกับ สถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย ได้จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อสร้างบุคลากรทางด้านงานเชื่อมในระดับผู้ตรวจสอบแบบไม่ทำลายสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานการผลิตที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเป็นผู้นำด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ตามแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcomes)ภายหลังการอบรมในหลักสูตรนี้ โดยผู้เข้ารับการอบรมจะสามารถในการจัดการ ควบคุมการปฏิบัติงาน แก้ปัญหาและตัดสินใจ ในระดับผู้เชี่ยวชาญด้านการเชื่อมในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์โดยมีขั้นพัฒนาการเรียนรู้ดังนี้ 1) จัดการ (Organize) ดำเนินการตรวจสอบได้อย่างเหมาะสม 2) วิเคราะห์ (Analyze) ตัดสินใจแก้ไขปัญหาฉพาะหน้าในการปฏิบัติการตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ประเมินผล (Evaluate)การตรวจสอบให้สอดคล้องตามเกณฑ์ตัดสินตามมาตรฐานสากล และ 4) รายงาน (Report) ผลการตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสมศักดิ์ ปามึก โทร.089 129 8541 อีเมลล์ somsak.p@tfii.kmutnb.ac.th